6.ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหลวง ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีกิจกรรมการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ปลูกข้าว รองลงมา คือ ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ รับจ้าง นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งไม่สามารถจำแนกเป็นรายหมู่บ้านได้ คือ ทำสวนผลไม้ ตามลำดับ
6.2 การประมง
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหลวง ไม่มีการประมง เป็นการจับปลาตามธรรมชาติในบริโภคในครัวเรือนตามฤดูกาลเท่านั้น
6.3 การปศุสัตว์
การปศุสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหลวง เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลัก และอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด แพะ แกะ โค เพื่อจำหน่ายและบริโภคเองในครัวเรือน
6.4 การบริการ
ชุมชน OTOP นวัตวิถี หมู่ที่ 6 จำนวน 1 แห่ง
6.5 การท่องเที่ยว
ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหลวง ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว แต่มีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ 1 สำหรับการศึกษาดูงานเพื่อเป็นตัวอย่างในการพัฒนาด้านการใช้ชีวิตในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน
6.6 อุตสาหกรรม
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหลวง ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม
6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
ธนาคาร - แห่ง สถานีบริการน้ำมัน - แห่ง
บริษัท - แห่ง ศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า - แห่ง
ห้างหุ้นส่วนจำกัด - แห่ง ตลาดสด - แห่ง
ร้านค้าต่าง ๆ 5 แห่ง โรงฆ่าสัตว์ - แห่ง
ซุปเปอร์มาเก็ต - แห่ง อู่ซ่อมรถ 1 แห่ง
องค์กร/กลุ่มอาชีพ
ในตำบลบ้านหลวง ดังนี้ กลุ่มเย็บผ้า เพาะเห็ด เย็บผ้า และกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เช่น กลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เช่น กล้วยฉาบ และสินค้าตามฤดูกาล
6.8 แรงงาน
ประชากรส่วนใหญ่ ทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านใหญ่ ๆ เพราะในพื้นที่ตำบลบ้านหลวง ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัย และทำการเกษตร ปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้
|